ประวัติความเป็นมา

ข้อมูลพื้นฐาน  ตำบลเขาตูม

1. สภาพทางกายภาพของชุมชน ตำบลเขาตูม

          1.1  ชื่อ  :  กศน.ตำบลเขาตูม

          1.2  สังกัด

          ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอยะรัง  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

          1.3  ประวัติความเป็นมาของตำบลเขาตูม

     บ้านเขาตูมเริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.๒๓๗๓ หรือประมาณ ๘๐ ปีมาแล้ว ความเป็นมาของชื่อ“บ้านเขาตูม” มีประวัติเล่ากันว่า “เขาตูม” มาจากสองสิ่งรวมกัน นั้น คือ “บูเก็ต” ที่แปลว่า “ภูเขา” และคำว่า “ตง” ที่แปลว่า “ลังไม้” และได้เรียกบ้านเขาตูม เป็นภาษมลายูว่าบ้าน “บูเก็ตตง” ซึ่งมาจากความเชื่อว่า ครั้งหนึ่งมีผู้ไปพบลังไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งข้างในบรรจุสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับของนางไม้อยู่บนภูเขาด้วยเหตุนี้เองคำว่า “บูเก็ต” กับ “ตง” จึงได้รวมกัน และกลายเป็นชื่อภาษาไทยว่า “ภูเขาตูม” และเปลี่ยนเป็นเรียกสั้นๆว่า “เขาตูม”จนถึงปัจจุบัน สภาพบริเวณทั่วไปจะเป็นป่าแต่ปัจจุบันบริเวณที่เป็นป่าถูกเปลี่ยนเป็นค่ายทหาร  ส่วนแม่น้ำ ภูเขา และห้วย หนอง ยังคงมีอยู่  แต่สภาพอาจเปลี่ยนไปจากเดิมบ้างแล้ว โดยเฉพาะหนองน้ำได้อยู่ในเขตชลประทาน

  1. สภาพทางกายภาพของชุมชน (ตำบล/แขวง)

ขนาดพื้นที่ตำบลเขาตูม มีประมาณ 89.43 ตร.กม. อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอยะรัง 22กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดปัตตานี ประมาณ 37 กิโลเมตร อยู่ใกล้กับเทศบาลนครยะลา เพียง 1 กิโลเมตร มีภูเขาล้อมรอบตรงกลางจะเป็นที่ราบลุ่ม

  • ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดกับ ต.เมาะมาวี, ต.กอลำ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
ทิศใต้ ติดกับ เทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จ.ยะลา
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ตะโละแมะนา อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี
ทิศตะวันตก ติดกับ แม่น้ำปัตตานี ต.ท่าแซะ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา
  • ลักษณะทางกายภาพ
    • ลักษณะทางภูมิศาสตร์  มี  7  หมู่บ้าน  พื้นที่เป็นพื้นที่ราบเหมาะแก่การเพาะปลูก  ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักทำสวนยาง  ทำไร่  ทำนา  รับจ้าง
  • โครงสร้างพื้นฐาน ไฟฟ้า ประปา
    • โทรคมนาคม
      • โทรศัพท์สาธารณะ                  จำนวน           8        เครื่อง
    • การไฟฟ้า
      • ไฟฟ้ามีใช้ทุกหมู่บ้าน  คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
    • แหล่งน้ำธรรมชาติ

                    – ลำน้ำ,ลำห้วย    ๑๙    สาย

                             – บึง หนอง และอื่นๆ      ๗        แห่ง

  • แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

                   – บ่อน้ำตื้น       ๑,๐๑๐  แห่ง

          – บ่อโยก         ๙        แห่ง

                  – บึง หนอง และอื่นๆ      ๗        แห่ง

  • ทรัพยากรธรรมชาติ
    • ยังคงสภาพตามธรรมชาติ   

การคมนาคมติดต่อสื่อสาร

          – มีถนนลาดยางผ่านทุกหมู่บ้าน เป็นระยะทาง ๒๕,๐๐๐ เมตร

          – มีถนน คสล.ทุกหมู่บ้าน

          การโทรคมนาคม

 – ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาต        ๑        แห่ง

          การไฟฟ้า

                    – มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

  1. สภาพทางสังคม – ประชากรการศึกษา

– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก        ๗        แห่ง

– โรงเรียนประถมศึกษา   ๔        แห่ง

– โรงเรียนตาดีกา ๓๐      แห่ง

– โรงเรียนปอเนาะ         ๖        แห่ง

– มหาวิทยาลัยอิสลาม/สถาบันชั้นสูง        ๑        แห่ง

– ศูนย์ กศน. ตำบลเขาตูม 1 แห่ง

– สถาบันศึกษาปอเนาะ    3       แห่ง (ที่เข้าร่วมกับ กศน.)

– บ้านหนังสืออัจฉริยะ    ๗        แห่ง                                                                                                        

       สถานีตำรวจภูธรตำบล 1 แห่ง
มัสยิด 28 แห่ง
สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 แห่ง
สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพภาคที่ 4
ค่ายทหารกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 5 “สิรินธร” ,พตท.43

          ส่วนราชการ

  • องค์การบริหารส่วนตำบล               1        แห่ง

สถาบันและองค์กรศาสนา

–  วัด                                                 1          แห่ง

                           – มัสยิด/บาลาเซาะห์        ๓๘      แห่ง

สาธารณสุข

                         โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาตูม  2

  1. จำนวนครัวเรือน

2.2 ข้อมูลประชากร

จำนวนประชากร

รายชื่อหมู่บ้านจำนวนครัวเรือนจำนวนชาย (คน )จำนวนหญิง ( คน )รวม  ( คน )
หมู่ 1  บ้านนัดกูโบ908122511732398
หมู่ 2  บ้านบูเกะดาตู3517848191603
หมู่ 3  บ้านโสร่ง1071187419033777
หมู่ 4 บ้านบาโงยะหา2385145371054
หมู่ 5 บ้านจาเราะบองอ762166817393407
หมู่ 6 บ้านโคกขี้เหล็ก2105405481088
หมู่ 7 บ้านนิปิสกูเละ181400446846
รวม37217006716714173

3. สภาพทางเศรษฐกิจ

    3.1 โครงสร้างฐานอาชีพของชุมชน (ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ตามลำดับ)

        อาชีพหลัก ได้แก่ ทำสวนยางพารา

        อาชีพรอง ได้แก่ รับจ้างทั่วไป

     3.2 รายได้เฉลี่ยของประชากร

          รายได้เฉลี่ย 60,000 บาท/คน/ปี

4. แหล่งวิทยาการชุมชน และทุนด้านงบประมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษา

    4.1 แหล่งเรียนรู้ (ประเภทบุคคล สถานที่และองค์กร ทรัพยากรธรรมชาติ กิจกรรมทางสังคมวัฒนธรรม )

ที่ชื่อแหล่งเรียนรู้ประเภทแหล่งเรียนรู้ที่ตั้ง
1นางอานี  ชูเมืองศิลปะ(การทำผ้าบาติก)ม.4  บ้านบาโงยะหา ตำบลเขาตูม
2นายสาเหาะ  อากาตวันเยะด้านหัตกรรม(ช่างทำกริซ)ม.3  บ้านโสร่ง ตำบลเขาตูม

    5. ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย

        ด้านการรู้หนังสือ ด้านการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สายสามัญ และ ปวช.) ด้านอาชีพ ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

  1.  ด้านการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ประชาชนในพื้นที่ต้องการได้รับการศึกษาบางส่วนยังขาดโอกาสในหลาย ๆ ด้าน  เช่น  ขาดทุนการศึกษา , เวลาไม่เอื้อต่อการเรียน
  2. ด้านอาชีพ  ประชาชนมีความต้องการฝึกอาชีพด้านการทำขนม , ศิลปะประดิษฐ์ , การจักสานเส้นพลาสติก , การทำกรงนก , การทำเฟอร์นิเจอร์ , การเกษตรผสมผสาน
  3. ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต  ประชาชนมีความต้องการได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ , กฎหมายการจราจร , การป้องกันยาเสพติด
  4. ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน  ประชาชนมีความต้องการการรวมกลุ่มอาชีพ , ช่องทางการจำหน่ายสินค้า
  5. ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ประชาชนมีความต้องการความรู้เกี่ยวกับการทำทำปุ๋ยหมักชีวภาพ , ปุ๋ยหมัก , การทำเกษตรผสมผสาน
  6. ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย  ประชาชนมีความต้องการให้แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่มีสื่อที่หลากหลายเพียงพอต่อการใช้บริการของประชาช

6. ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย

6.1 ขนาด กศน.ตำบล  จำนวนผู้เรียน/นักศึกษา  ระดับการศึกษาที่ให้บริการ

กศน.ตำบลเขาตูม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๗ ณ ตำบลเขาตูม  อ.ยะรัง   จ.ปัตตานี   ตั้งอยู่ในชุมชนเป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนเป็นอาคารเอกเทศ  จัดการศึกษาต่อเนื่อง  การศึกษาตามอัธยาศัย  และการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวมทั้งสิ้นจำนวน     ดังนี้

                   ระดับประถมศึกษา                  จำนวน                     คน

                   ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น           จำนวน                     คน

                   ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย        จำนวน                     คน

                   รวมทั้งสิ้น                            จำนวน                     คน

          6.2  ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชน

          กศน.ตำบลเขาตูม จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในทุกด้านโดยเน้นการมีส่วนร่วมและความต้องการทางการศึกษาของชุมชน โดยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในชุมชน  มุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนและนโยบายของสำนักงาน กศน. โดยใช้  กศน.ตำบล  เป็นฐานขับเคลื่อนงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ให้โอกาสทางการศึกษา แก้ปัญหาผู้ไม่รู้หนังสือ ตลอดจนการสร้างโอกาสความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพมีความรู้ความสามารถ และได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพตามบริบทของพื้นที่

6.3  คณะกรรมการ กศน.ตำบลเขาตูม

                             1. นายมูฮำมัดรอโซ ​สิเดะ             ประธาน

                             2.  .นายมะรอเซะ ​ กาซอ             รองประธาน

                             3.  นายซาการียา ​เกะรา            กรรมการ

                             4.  นายอับดุลเลาะ สะตา             กรรมการ

                             5.  นายยามารูดิง ​กาซา               กรรมการ

                             6.  นายอิสมาแอ ​​ บาเหะ           กรรมการ

                             7.  นายหามะ ​​วิชา             กรรมการ

                             8. นายมะสานาวี ​ สิเดะ        กรรมการ

                             9. นางสาวนิอัซนีซา นิกะจิ กรรมการ        

                             10 .นางสาวแวซูไฮณี     จะปะกิยา        กรรมการเลขานุการ

๖.๗ ทำเนียบบุคลากร กศน.ตำบล

ที่ชื่อ-สกุลตำแหน่งระยะเวลาการทำงาน
1นายกามารูซามัน เบณมะ ครู2563-ปัจจุบัน
2นายอนุชา สะแลแมครู2564-ปัจจุบัน
3นางสาวแวซูไฮณี  จะปะกิยาครูกศน.ตำบล2552-ปัจจุบัน
4นางสาวนิอัซนีซา นิกะจิครูอาสาฯประจำตำบล2566-ปัจจุบัน
5นายนาซอรี เต็งครูอาสาฯประจำสถาบันศึกษาปอเนาะ2549-ปัจจุบัน
6นางสาวกอลบี  วิชาครูอาสาฯประจำสถาบันศึกษาปอเนาะ2547-ปัจจุบัน
7นายอนัส  แวหะยีครูอาสาฯประจำสถาบันศึกษาปอเนาะ2552-ปัจจุบัน
8นางสาวอามีเน๊าะ  บินยูโซะครูอาสาฯประจำสถาบันศึกษาปอเนาะ2562-ปัจจุบัน