
ประวัติความเป็นมา
ตำบลยะรัง คำว่า “ยะรัง” สันนิฐานว่าเป็นคำแผลงมาจากคำว่า “บราแว” ในภาษามลายูท้องถิ่น ซึ่งตรงกับภาษาไทยว่า “พะวัง” หรือ “พระราชวัง” สาเหตุที่ได้เรียกพื้นที่แถบนี้ว่า “บราแว” หรือ “พระราชวัง” เนื่องมาจากว่ามีหลักบานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่า พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ ชื่อ “โกตามาหาลิไฆ” ปัจจุบันยังมมีซากกำแพงดิน คูเมือง สระ (บ่อโบราณ)และซากปรักหักพังของโบราณสถานหลายแห่งในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านปราแว ตำบลยะรัง จากคำว่า “ปราแว” ซึ่งแปลว่า “พระราชวัง” หรือ “พระวัง” หลายร้อยปี ต่อมาก็กลายเป็น “ยะรัง” เมื่อตั้งชื่อตำบลก็ได้นำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อของตำบล
ที่ตั้ง
ตำบลยะรังตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของอำเภอยะรัง ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2.5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดปัตตานี ประมาณ 15 กิโลเมตร
เนื้อที่
ตำบลยะรังมีเนื้อที่ทั้งหมด 12,090 ไร่
สภาพภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบและมีลักษณะเป็นภูเขาสลับกับที่ราบลุ่มทั่วทั้งตำบล มีคลองธรรมชาติ มีแม่น้ำปัตตานีไหลผ่านหมู่บ้าน ตำบล เป็นระยะทางยาวเหมาะสำหรับในการเพาะปลูกในพื้นที่หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ส่วนใหญ่ พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาและสวนเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน พืชไร่ พืชผัก ชุมชนหนาแน่นบริเวณถนนปัตตานี-ยะลา ทั้งสองฝั่งเป็นอาคารพักอาศัย และประกอบอาชีพค้าขายและทำธุรกิจทั่วไป
สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม และฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ สิงหาคม-มกราคม
• ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
• ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
• ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลระแว้งและตำบลสะนอ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
• ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
• ทิศใต้ ติดต่อ ตำบล ปิตูมุดี ตำบลคลองใหม่ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
จำนวนหมู่บ้านตำบลยะรัง มีจำนวน 6 หมู่บ้าน ดังนี้
- จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เต็มทั้งหมู่บ้าน มี 3 หมู่บ้าน ได้แก่
• – หมู่ที่ 1 บ้านกรือเซะ
• – หมู่ที่ 2 บ้านยือแร
• – หมู่ที่ 6 บ้านต้นทุเรียน - จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเต็มบางส่วน มี 3 หมู่บ้าน ได้แก่
• – หมู่ที่ 3 บ้านบินยาลีมอ
• – หมู่ที่ 4 บ้านปายอเมาะสุเม็ง
• – หมู่ที่ 5 บ้านพงสตา
ท้องถิ่นอื่นในเขตตำบล คือ เทศบาลตำบลยะรัง
• ลักษณะทางกายภาพ
มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำปัตตานีไหลผ่านใน หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่นาและสวน และลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน